" วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม ยินดีต้อนรับทุกท่าน "
                   

     
 

วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวตำบลบ้านผึ้ง
ข้าวสุข


ส่วนที่ 1 ประวัติความเป็นมา
ข้าว ของไทยเป็นพืชอาหารประจำชาติที่มีตำนานประวัติศาสตร์มายาวนาน ปรากฏเป็นร่องรอยพร้อมกับอารยธรรมไทยมาไม่น้อยกว่า 5,500 ปี ซึ่งมีหลักฐานจากแกลบข้าวที่เป็นส่วนผสมของดินใช้เครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง อำเภอโนนนกทา ตำบลบ้านโคก อำเภอภูเวียง อันสันนิษฐานได้ว่าเป็นเมล็ดข้าวที่เก่แก่ที่สุดของไทย โดยแกลบข้าวที่พบนี้มีลักษณะของข้าวเหนียวเมล็ดใหญ่ที่เจริญงอกงามในที่สูง

ข้าวสุข ถือกำเนิดขึ้นมาจากแนวคิดที่ว่าจังหวัดนครพนมเป็นแหล่งอารยธรรมอันยาวนานและมีความอุดมสมบูรณ์ของดินลุ่มแม่น้ำโขงอุดมด้วยแร่ธาตุเฉพาะ เป็นที่มาของการผลิตข้าวหอมมะลิที่อร่อย หอม นุ่มอุดมด้วยสารอาหาร จนได้รับรางวัลชนะเลิศ 4 ปีติดต่อกัน

วิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวตำบลบ้านผึ้ง ได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.. 2554 เป็นการรวมตัวของสมาชิกกลุ่มส่งเสริมอาชีพ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและผู้สนใจการปลูกข้าวปลอดภัยจากสารพิษ และการผลิตข้าวอินทรีย์ ที่เป็นการใช้เทคโนโลยีการผลิต,การแปรรูปเข้ามาทดแทนการผลิตแบบดั้งเดิมซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นการปรับเปลี่ยนการทำนาแบบดั้งเดิม ซึ่งการทำนาแบบดั้งเดิมมุ่งเน้นการผลิตเพื่อจำหน่ายข้าวเปลือกอย่างเดียวทำให้ผลผลิตมีคุณภาพต่ำ ผลผลิตล้นตลาด ราคาผลผลิตก็ตกต่ำไปด้วย

สมาชิกกลุ่มจึงได้ประชุมกันปรับเปลี่ยนการผลิตข้าวใหม่ให้เครือข่ายหันมาทำนาข้าวให้ปลอดภัยจากสารพิษและต่อมาพัฒนาเป็นการทำนาข้าวอินทรีย์ในที่สุด จนได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์
GAP จากกรมวิชาการเกษตร จากนั้นกลุ่ม ได้รับการพัฒนาต่อยอดอบรม และศึกษาดูงานการผลิตและการแปรูปข้าว เช่น การทำข้าวสารบรรจุถุง การทำข้าวกล้อง การทำข้าวกล้องงอก การทำข้างฮาง

จากหน่วยงานของทางภาครัฐและเอกชนต่างๆทางกลุ่มได้ผลิตข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ข้าวฮางอัดถุงจำหน่ายภายใต้แบรน “ข้าวสุข” เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ

ข้อมูลพื้นฐาน
ส่วนที่ 2 ข้อมูลทั่วไป/การก่อตั้ง
2.1 ข้อมูลทั่วไป/การก่อตั้ง

วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปข้าวตำบลบ้านผึ้ง หมู่ที่ 10 ตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมืองนครพนม เริ่มในปี พ.2544 ด้วยการก่อตั้งผู้นำกลุ่มส่งเสริมอาชีพเกษตรกร กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ผู้ที่มีความสนใจในการผลิตและจำหน่ายข้าวปลอดภัยจากสารพิษจนได้รับมาตรฐาน GAPจำนวน 42 คน และได้รับการอบรมและศึกษาดูงาน การผลิต การแปรูรูป จากกรมส่งเสริมการเกษตร
กรมการข้าว ที่จังหวัดสกลนคร เพื่อแก้ปัญหาราคาข้าวเปลือกตกต่ำ


ได้ยื่นจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชุมชน เมื่อวันที่ 13 เดือนตุลาคมพ.. 2557 และไดรับการอนุมัติ เมื่อวันที่ 19 เดือนพฤศจิกายน พ..2557 สมาชิกปัจจุบันมีจำนวน 20 คน สมาชิกเครือข่ายจำนวน 210 ราย

2.2 ข้อมูลทางเศรษฐกิจของวิสาหกิจชุมชน

อาชีพหลักของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน ได้แก่การทำนา พันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูก ข้าวกข.6 หอมมะลิ 105 ข้าวหอมนิล ข้าวไรซ์เบอรี่ ข้าวเหนียวดำ(ข้าวลืมผัว) พื้นที่ทำนา 200 ไร่ อาชีพรอง คือการผลิตข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ข้าวฮาง บรรจุถุงจำหน่าย ผลิตภัณฑ์อื่นจากข้าวเช่น น้ำมันรำข้าว จมูกข้าว มีผลิตภัณฑ์ที่เด่นและเป็นที่ต้องการของตลาด คือ ข้าวกล้องงอกไรซ์เบอรี่ ข้าวกล้องงอกหอมนิล ข้าวขาวหอมมะลิ 105 กำลังการผลิต 1,000 ตัน/ปี

มาตรฐานของสินค้า ได้รับอนุญาตเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน “มผช”มาตรฐานเลขที่ มผช.19/2557 และได้รับมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมวิชาการเกษตร “GAP” ทุกปี วัตถุดิบทีใช้ในการผลิตข้าวแปรรูป เป็นเมล็ดข้าวเปลือกที่ได้รับซื้อจากสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และสมาชิกกลุ่มเครือข่ายข้าวอินทรีย์ที่ได้รับมาตรฐานข้าวอินทรีย์และ“GAP” ที่มีอยู่ในหมู่บ้านและในท้องถิ่นในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวให้มีมูลค่าสินค้าเพิ่มขึ้น จากราคาท้องตลาด

การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ กลุ่มมีศูนย์แสดงผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง และจำหน่ายในงานเทศกาลประจำปีของจังหวัด จำหน่ายตามตลาดนัดของ สกต. ส่งให้โรงพยาบาลนครพนม ร่วมกับพาณิชย์จังหวัด กรมการค้าภายในออกบูทจำหน่ายในงาน OTOP ต่างๆ ทั่วประเทศ และส่งออกต่างประเทศ มีตลาดสั่งจองล่วงหน้าเพราะสมาชิกผลิตสินค้าไม่ทันตามความต้องการของตลาด

2.3 ทุนดำเนินการของวิสาหกิจชุมชน
ทุนในการดำเนินกิจกรรมมีการระดมทุนจากกรรมการกลุ่มเป็นเงินออมทรัพย์ จำนวน 24,000 บาท หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
ปี พ..2556 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมอาชีพในการพัฒนากลุ่มจำนวน 100,000บาท เป็นการยืม 5 ปีส่งใช้คืนปีละ 20,000 บาท
ปี พ.. 2557 กรมส่งเสริมการเกษตรจัดอบรมการพัฒนากลุ่มและการสร้างเครือข่าย งบประมาณ 2,800 บาท
ปี พ.. 2557 กรมส่งเสริมการเกษตรจัดอบรมส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์ GMP จัดซื้อเครื่องซีลสูญญากาศ


ส่วนที่ 3 การวิเคราะห์สถานการณ์
3.1
ประเด็นการเรียนรู้ตามแผนการส่งเสริมการเรียนรู้สมาชิกวิสาหกิจชุมชนกับแหล่งเรียนรู้
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปข้าวตำบลบ้านผึ้ง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เป็นหมู่บ้านที่ประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก และเมื่อประสบปัญหาจากการทำนาทำให้ผลผลิตตกต่ำและไม่มีคุณภาพ มีสารเคมีตกค้างในผลผลิต เป็นปัญหาทำให้ผลผลิตราคาตกต่ำขายข้าวเปลือกไม่ได้ราคา เกษตรกรในชุมชนเหล่านี้

จึงได้ปรับเปลี่ยนการทำนาข้าวจากการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมี มาเป็นการทำนาแบบอินทรีย์และการทำนาแบบปลอดภัยจากสารพิษ เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตและผลผลิตปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าว ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมีใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และการไถกลบตอซังข้าวเพื่อเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน ทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้นและได้รับรองมาตรฐาน
GAP และกลุ่มได้พัฒนาจากการขายข้าวเปลือกอย่างเดียว มาแปรรูปเป็นข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอกบรรจุขายแบบเป็นถุง เป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก และได้พัฒนาผลิตภัณฑ์มาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบัน จากเริ่มแรกก่อตั้งกลุ่มมีสมาชิกกลุ่มอยู่เพียง 7 คน
ปัจจุบันมีสมาชิกและเครือข่ายเพิ่มขึ้นจำนวน
210 คน

ปัจจุบันทางกลุ่มได้พัฒนาแปรรูปผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบ ซึ่งทางกลุ่มได้รับการอบรมศึกษาดูงานและ เกิดทักษะ จนสามารถมีรูปแบบผลิตภัณฑ์ดังน
ี้

-
ข้าวไรซ์เบอร์รี่บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวกล้องงอกไรซ์เบอร์รีบรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-.
ข้าวขาวหอมมะลิ105 บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-.
ข้าวกล้องหอมมะลิ105 บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวกล้องงอกหอมนิล บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวหอมนิล บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวกล้องงอกหอมนิล บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวหอมมะลิแดง บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวกล้องศรีโคตรบูรณ์ 5 สายพันธุ์ บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวฮางงอกศรีโคตรบูรณ์ 5 สายพันธุ์ บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวเหนียวดำ บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
ข้าวกล้องเหนียวดำ บรรจุถุงขนาด 1,3,5 กิโลกรัม
-
น้ำมันรำข้าวชนิดแคปซูล
-
จมูกข้าวชงละลายพร้อมดื่ม


การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ระดับตำบล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัดและตามงาน OTOP ต่างๆทั่วประเทศ งานแสดงสินค้าต่างๆ
ผลิตส่งโรงพยาบาลนครพนม ตลาด สตก
. ส่งตลาด อตก. ทุกวันที่ 22 ของเดือน และตามงานเทศกาล ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด ระดับประเทศ เมืองทองธานี และเครือข่าย นครพนม จำนวนมากกว่า 10 จุด และส่งออกประเทศมาเลเซีย ประเทศจีน ประเทศเวียดนาม ประเทศลาวเป็นต้น 3.2 การวิเคราะห์สถานการณ์

-จุดเด่นของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มมีศักยภาพในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ที่หลากหลายและวัตถุดิบหาง่ายในท้องถิ่น

-ปัญหา ผลิตและบรรจุถุงไม่ทัน เพราะขาดเครื่องสีข้าวและคัดแยกกากไม่มียุ้งฉางสำหรับเก็บเมล็ดข้าวเปลือกที่รับซื้อมาจากสมาชิก ไม่มีห้องบรรจุถุงและเก็บสต๊อกสินค้าที่สะอาดและได้มาตรฐาน

-โอกาส กลุ่มมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาคี โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบล และผลิตภัณฑ์เป็นที่ต้องการของตลาด
-
อุปสรรค ไม่มีเครื่องสีและคัดแยกกากเป็นของตนเองต้องไปว่าจ้างให้เอกชนสีและคัดแยกกากให้ซึ่งทำให้ช้า ไม่ทันต่อความต้องการของตลาดและต้นทุนการผลิตสูงขึ้น

 
 
 

สอบถามสินค้า-ติดต่อเรา

 



Copyright ? 2015 khaowsook.com. All rights reserved
พัฒนาโดย admin@khaowsook.com ,khaowsook@gmail.com